โรงแรมปั้นหยาเป็นอีกหนึ่งที่พักที่มีราคาคุ้มค่ากับที่พักเป็นอย่างมากหากคุณๆที่มาเที่ยวจังหวัดอุดรธานีหรือมาทำธุระ โรงแรมแห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีเลยก็ว่าได้ค่ะด้วยราคาที่สุดประหยัดยังมีอาหารเช้าสุดอร่อยอีกด้วยสนใจติดต่อสอบถามโทร 042-222-411
โรงแรม ปั้นหยา รีสอร์ท Panya Resort Hotel จ.อุดรธานี
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ปั้นหยา จังหวัดอุดรธานี
ที่พักใหม่ สไตล์อบอุ่นอาหารอร่อย ห้องพักสะอาด ติดต่อห้องพัก 042-222-411
มีบริการรับส่งสนามบินไป-กลับ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในห้องพัก
มีบริการรับส่งสนามบินไป-กลับ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในห้องพัก
โรงแรมปั้นหยา
โรงแรมปั้นหยากับสัมผัสใหม่ที่ทุกคนห้ามพลาดกับบรรยกาศที่เงียบสงบและเป็นกันเอง อาหารอร่อยห้องสะอาด
สามารถติดต่อห้องพักได้ที่ 042-222-411 ตลอด24 ชั่วโมง
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560
1.ภารกิจของหน่วยงาน
1.1การเปิดให้บริการห้องพักรายวันรายเดือน
1.2การเปิดให้บริการห้องประชุมสัมมนาต่างๆ
1.3ออกพื้นที่ทำการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน
2.โครงสร้างธุรกิจ
1. คณะกรรมการบริหารโรงแรม Board of
Director
จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นของกิจการ
โดยคณะกรรมการบริหารนี้มีหน้าที่เพื่อกำหนดนโยบายของการบริหารงานโรงแรมเพื่อให้การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่าง
คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถตรวจสอบและแก้ไขในการปฏิบัติงานต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว
2. ผู้จัดการทั่วไป General Manager
บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหาร
ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป
บุคคลดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหรือเป็นบุคคลภายนอก
ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งให้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม
มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารงานด้านโรงแรม
ผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหาร
และควบคุมการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายภายในโรงแรมให้ดำเนิน
ไปตามเป้าหมายและนโยบายที่คณะกรรมการบริหารของโรงแรมกำหนดไว้ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง
ๆ ภายในโรงแรมให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น และสอดคล้องกัน
3. รองผู้จัดการทั่วไป Resident Manager
ตำแหน่ง Resident Manager เป็นตำแหน่งที่รองจากตำแหน่ง
General
Manager บางคนก็เรียกเป็นตำแหน่งรองผู้จัดการทั่วไป (Assistant GM) นั่นเอง เรียกย่อๆ ว่า RM เป็นตำแหน่งที่รับนโยบายโดยตรงจาก GM มาบริหารจัดการและประสานงานกับแผนกต่างๆ ส่วนใหญ่ RM จะดูแลในส่วนของห้องพัก หรือ Rooms นั่นเอง คล้ายๆ กับตำแหน่ง Room Division
Manager
4. สมุห์บัญชี Chief Accountant
การบัญชีการเงินนั้นเน้นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน (ซึ่งได้แก่ งบดุล
งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงิน) แก่ผู้บริหาร
ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุน และหน่วยงานราชการ (ได้แก่ กรมสรรพากร
และกระทรวงพาณิชย์) ในขณะที่ การบัญชีบริหาร เน้นนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหาร
เพื่อการตัดสินใจ การวางแผน การอำนวยการ และการควบคุม โดยเสนอแก่
ฝ่ายบริหารของกิจการ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง
การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น
1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง
การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว
มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน
ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน
(Accounting
report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
5.พนักงานเสิร์ฟ (ชาย/Waiter/หญิง/Waitress)
พนักงานเสิร์ฟที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะจำเพาะหรือความชำนาญในงานที่ทำอยู่บ้าง
ตัวอย่างเช่น การตักอาหาร
ให้แขกโดยตักจากชามใหญ่และหนักโดยใช้ช้อนส้อมและการถือ
ใบที่มีอาหารอยู่ด้วยโดยไม่ให้อาหารหก เป็นต้น
นอกจากนี้พนักงานเสิร์ฟยังต้องมีทักษะในการติดต่อกับคน
เพราะต้องพูดจาติดต่อกับแขกที่มาใช้บริการของ
ห้องอาหาร กล่าวกันว่า
พนักงานเสิร์ฟทั้งหลายเปรียบเหมือนเป็นกองกำลังหรือหน่วยขายอาหาร (Salesforce of
food)
ทีเดียว
เนื่องจากมีหน้าที่แนะนำหรือขายสินค้าอันได้แก่อาหารที่แผนกครัวทำขึ้นมาแก่ลูกค้า
พนักงานเสิร์ฟจะชนะใจ
ลูกค้าได้ด้วยการรู้จักกาลเทศะ
มีเสน่ห์น่าพูดคุยด้วย ทำงานคล่องแคล่ว และรอบรู้ในงานที่ตัวเองทำอยู่
คือสามารถให้คำ
แนะนำแก่ลูกค้าว่าควรเลือกสั่งอาหารอะไร
และยังสามารถอธิบายให้ลูกค้าฟังว่าอาหารจานนั้นมีวิธีปรุงอย่างไรด้วย
พนักงานเสิร์ฟจะต้องพร้อมที่จะให้บริการเมื่อแขกต้องการ
และถอยห่างออกมายืนอยู่เงียบๆ ในขณะที่ลูกค้า
ไม่ต้องการบริการอะไร549
การบริหารที่ดียังหมายรวมถึงจังหวะที่เหมาะสมในการให้บริการด้วย
เช่น เมื่อแขกต้องการอะไรก็รีบ
สนองตอบอย่างรวดเร็วทันใจ เป็นต้น พนักงานเสิร์ฟควรจะล่วงรู้ว่าแขกกำลังต้องการอะไรก่อนที่แขกจะเอ่ยปากขอ
นอกจากนี้พนักงานเสิร์ฟควรจะเตรียมงานล่วงหน้าไป
1 ขั้นเสมอ เช่น การรีบไปบอกแผนกครัวว่ามีแขกกลุ่มใหญ่เข้ามา
แล้ว
เพื่อให้ฝ่ายนั้นรู้ตัวและสามารถเตรียมการล่วงหน้าได้เป็นต้น
6. หัวหน้าพ่อครัว Executive Chef
บุคคลที่ทำงานในตำแหน่งนี้ไม่ค่อยได้ลงมือทำอาหารเอง ในช่วงมื้ออาหารสำคัญ
ๆ เช่น มื้อเที่ยงหรือมื้อเย็น
กุ๊กใหญ่จะคอยดูแลควบคุมใบสั่งอาหารที่ส่งเข้ามาแผนกบริการซึ่งรับคำสั่งจากลูกค้าอีกต่อหนึ่ง
แล้วตะโกนบอกรายละเอียดไปที่หน่วยต่าง ๆในครัว (ในโรงแรมใหญ่ ๆ
ที่ทันสมัยในปัจจุบัน
จะใช้ระบบสั่งอาหารทางคอมพิวเตอร์จากแผนกบริการไปที่ครัวเลยทีเดียว)
จัดการงานด้านเอกสาร สั่งอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงต่าง ๆ ออกเมนู (
รายการอาหาร) จัดตารางเวลาและหน้าที่งานสำหรับพนักงานแต่ละคน และดูแลควบคุมการทำงานของพนักงานทั้งหลายในครัว
กล่าวโดยสรุปก็คือ ดูแลให้แผนกครัวดำเนินงานไปโดยราบรื่นนั่นเอง นอกจากนี้
หัวหน้าแผนกครัวที่ดีจะต้องคอยตรวจสอบไม่ให้พนักงานใช้ของ แบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
ที่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าโดยใช่เหตุ ดูแลให้ห้องครัวอยู่ในสภาพที่สะอาด
ถูกสุขลักษณะ และอาหารที่ทำออกมามีคุณภาพและมาตรฐานสูง
ความรับผิดชอบสำคัญประการหนึ่งของหน้าหน้าแผนกครัว ได้แก่ การฝึกอบรมพนักงาน
โดยเฉพาะในภาวะที่ขาดแคลนบุคคลากรโรงแรมอย่างทุกวันนี้ที่มีคนเข้าออกมาก
หัวหน้าแผนกจึงจำเป็นต้องเป็นครูที่ดีและสนใจเรื่องการสอนงานลูกน้อง มิฉะนั้น
ตัวเองจะเหน็ดเหนื่อยมาก
เพราะกุ๊กที่เป็นงานมักจะถูกดึงไปทำงานในโรงแรมอื่นด้วยข้อเสนอด้านค่าจ้างที่สูงกว่าอยู่ตลอดเวลา
ความเป็นครูกับลูกศิษย์จะช่วยรักษากุ๊กไว้ให้ทำงานอยู่กับตนเองไปได้อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง
รองกุ๊กใหญ่หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (
Second
Chef or Sous Chef) หน้าที่ก็เป็นไปตามชื่อตำแหน่ง คือ
ช่วยกุ๊กใหญ่ในงานด้านต่าง ๆ หรือรักษาการ แทนเมื่อกุ๊กใหญ่ไม่อยู่ งานหลัก ๆ
ก็คือ การตรวจสอบว่าของต่าง ๆ ที่ต้องใช้ประกอบอาหารที่สั่งไว้นั้นมาครบหรือยัง
และเช็คว่ากุ๊กหน่วยต่าง ๆ ในครัวรู้หรือไม่ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละมื้อแต่ละวัน
หากเป็นครัวใหญ่ที่มีผู้ช่วยหัวหน้าแผนกครัวหลายคน
บางคนก็อาจได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบแผนกในครัวเฉพาะบางแผนกไปเลยก็ได้ เช่น
รับผิดชอบเรื่องซอสต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอาหารฝรั่ง เป็นต้น
หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie) ภายในครัวของโรงแรมหรือห้องอาหารขนาดใหญ่
จะแบ่งเป็นแผนกย่อยออกไป มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการนั้น ๆ
จึงมีหัวหน้ากุ๊กที่ดูแลรับผิดชอบเป็นแผนก ๆ ไป เรียกรวม ๆ ว่า Chef de Partie ชื่อแผนกและตำแหน่งต่าง ๆ ในครัวยังนิยมเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสเหมือนสมัยก่อน
โดยเฉพาะในห้องอาหารหรือโรงแรมที่ผู้จัดการค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยม แผนกต่าง ๆ
ในครัวมีดังนี้ หัวหน้าหน่วยผัก (The Vegetable Chef) หรือเรียกว่า Chef
Entremettier ( เชฟ ออง เตรอะเมดิเยอร์)
ทหัวหน้าครัวขนมอบ (The Pastry Chef) เรียกว่า Chef Patissier
( เชฟ ปาติซิเยร์) ทหัวหน้าครัวอบ-ย่าง (The Rousseur
Chef) เรียกว่า Chef Rotisseur ( เชฟ โรติเซอร์)
ทหัวหน้าครัวเย็นหรือหัวหน้าที่ดูแลห้องเก็บอาหาร (The Chef in charge of the larder or
cold kitchen) เรียกว่า Chef
Garde-manger ( เชฟ การ์ด มองเซร์) หัวหน้าหน่วยปลา
(The
Fish Chef) เรียกว่า Chef
Poissonnier ( เชฟ ปัวซอง นิเยร์) หัวหน้าหน่วยซอส
(The
Sauce Chef) เรียกว่า Chef Saucier ( เชฟ โซซิเยร์)
กุ๊กหมุนเวียน (Rellet Chef หรือ Chef Toumant) กุ๊กหมุนเวียน
หรือ เชฟ ตูร์น็อง มีหน้าที่ทำงานแทนหัวหน้ากุ๊กหน่วยต่าง ๆ ที่หยุด
งานไปด้วยสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พักร้อน ป่วย เป็นต้น เพราะฉะนั้น เชฟ
ตูร์น็อง
นี้จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในงานของหลายครัวหรือหลายหน่วยในครัว
แม้ว่าอาจจะไม่เก่งหมดทุกด้าน แต่สามารถรับงานได้โดยไม่ติดขัด
ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef) คำว่า Commis ต้องอ่านว่า " คอมมี" เพราะเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ใช่อ่านว่า
"คอมมิส" อย่างที่มีการออกเสียงกันผิด ๆ "กอมมี"
มีหน้าที่คอยช่วยงานของหัวหน้ากุ๊กในหลาย ๆ ด้าน
แต่เป็นงานที่ไม่ต้องการความชำนิชำนาญอะไรเป็นพิเศษ
กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef) นับว่าเป็นกุ๊กที่อาวุโสน้อยที่สุดในครัว
มักจะเป็นพนักงานที่เพิ่งเข้างานไม่นาน ซึ่ง เมื่อทำงานนานเข้า
ได้รับการฝึกงานและมีประสบการณ์มากเข้า
ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปตามลำดับชั้นของตำแหน่งในครัว
7. ผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า Front Office Manager
โดยทั่วไปเวลาแขกเข้ามาในโรงแรม มักจะเดินตรงไปติดต่อเคาน์เตอร์แผนกต้อนรับ
(Reception
desk) ซึ่งจะอยู่ภายในอาคารโรงแรมใกล้ประตูทางเข้านั่นเอง
พนักงานต้อนรับเป็นผู้ทำหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก
และขอให้แขกลงทะเบียนแล้วจึงจ่ายห้อง ในกรณีแขกไม่ได้ทำจองมาก่อนแต่มีห้องว่าง
ก็จะดำเนินขั้นตอนการทำงานเดียวกับแบบที่จองมาก่อน
แผนกต้อนรับ หรือ
สำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรมทีเดียว และมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่น
ๆในโรงแรม ตัวอย่างเช่น ถ้าแขกมาบ่นหรือต่อว่า (หรือชมเชย) ที่แผนกต้อนรับ
พนักงานต้อนรับจำเป็นต้องรีบส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่ผุ้เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
พนักงานต้อนรับที่ดีจะต้องสามารถบอกแขกได้ว่ามีอะไรน่าดู
น่าชม หรือน่าไปเที่ยวบ้างในละแวกเดียวกับโรงแรม หรือในโรงแรมที่เมืองตั้งอยู่
รวมถึงสินค้าขึ้นชื่อและอาหารที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ
ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง กล่าวโดยสรุป
พนักงานแผนกต้อนรับและพนักงานสัมภาระจะต้องมีความรอบรู้และรู้ข้อมูลต่างๆ
ที่แขกต้องการจะทราบด้วย
นอกจากนี้ก็ต้องพร้อมที่จะให้ความสนใจหรือพูดคุยกับแขกเสมอ
แม้ว่าบางครั้งอาจจะติดงานอื่นอยู่บ้างก็ตาม
ตำแหน่งงานในแผนกต้อนรับโดยทั่วไปจะมีดังนี้
1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office
Manager) มีหน้าที่ดูแลควบคุมให้การดำเนินงานของแผนกต้อนรับเป็นไปโดยราบรื่น
และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าแผนกคนหนึ่งของโรงแรม
ยังต้องเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคนเข้าทำงานและให้การฝึกอบรม
วางงบประมาณของแผนกและควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามนั้น คาดคะเนระดับอัตราเข้าพัก
(occupancy
levels) ในอนาคต
และวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจที่ผ่านมาด้วย
2. พนักงานต้อนรับ (Reception) พนักงานต้อนรับจะเป็นบุคคลแรกที่แขกพูดด้วยหลังจากเดินเข้ามาในโรงแรม
พนักงานต้อนรับจะต้องทักทายและให้การต้อนรับแขกอันเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก
ลงทะเบียนแขกและจ่ายห้อง จ่ายกุญแจ
ตอบข้อซักถามและจัดการเกี่ยวกับเรื่องที่แขกไม่พอใจเตรียมบิลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของแขก
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มจากห้องอาหารและบาร์
ตลอดจนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซักรีด เป็นต้น นอกจากนี้
ก็อาจจะรวมไปถึงการรับเงินซึ่งมีทั้งเงินสด บัตรเครดิต หรือเช็คเดินทาง
ติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับแขก เช่น
ติดต่อกับห้องอาหารเพื่อจองโต๊ะ ติดต่อกับดิสโก้เทคในโรงแรมเพื่อจองที่นั่ง
ติดต่อกับแผนกแม่บ้านเพื่อเช็ดดูว่าห้องพักที่แขกต้องการนั้นพร้อมให้เข้าทำได้หรือยัง
ติดต่อกับแผนกช่างเพื่อแจ้งให้ทราบว่าแขกบ่นว่าเครื่องโทรทัศน์ใช้การไม่ได้
เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ต้องช่วยโรงแรมในการขายบริการต่าง ๆ
ที่โรงแรมจัดไว้ขายอีกด้วย
3. พนักงานสัมภาระ (Hall Porter) พนักงานสัมภาระจะคอยต้อนรับแขกที่เข้ามาในโรงแรม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมพร้อมทั้งบอกทางไปยังจุดต่างๆ
ในโรงแรมอีกด้วย หากเป็นแขกพักห้องก็จะช่วยขนสัมภาระต่าง ๆ
ของแขกขึ้นไปที่ห้องพักเมื่อแขกจะเข้าพัก และช่วยขนลงจากห้องพักเมื่อแขกจะกลับ
นอกจากนี้ ยังมีงานเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
อีกมากได้แก่ การจดข้อความที่มีผู้สั่งความถึงแขกไว้ ดูแลกุญแจกห้องพักแขก
ให้คำแนะนำแก่แขกเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ
วิธีเดินทางและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ช่วยแขกเรียกรถแท็กซี่
ช่วยจองตั๋วรถ/เรือ/เครื่องบิน ช่วยจองตั๋วดูละคร/ภาพยนตร์
แจกจ่ายจดหมายหรือไปรษณียภัณฑ์ที่มีมาถึงแขก ช่วยจัดห้องประชุมด้วยการช่วยขนย้ายโต๊ะ
เก้าอี้ เป็นต้น
1. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน Executive
Housekeeper
แผนกแม่บ้านรับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงาน
"หลังฉาก" (Behide the scenes operation) เหมือนกับงานของแผนกครัว
และแขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผนครัวเช่นกัน
แต่ผู้ทำงานแผนกนี้ออกจะมีกรรมอยู่สักหน่อย
ตรงที่แขกมักจะคิดว่าการที่พักห้องสะอาดทางเดินและบริเวณใช้ร่วมต่าง ๆ
ในโรงแรมสะอาด ตลอดจนผ้าปูที่นอน/ปลอกหมอนสะอาดเป็นของธรรมดา
คือไม่ค่อยได้สังเกตหรือชมเชย แต่ถ้าเกิดความไม่สะอาดขึ้นมาเมื่อใด
แขกจะสังเกตเห็นทันที และจะตำหนิหรือต่อว่า เช่น ห้องพักไม่สะอาด
ผ้าปูที่นอนไม่ได้เปลี่ยน หรือห้องน้ำสกปรก เป็นต้น
แม้ว่างานของแผนกแม่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานหลังฉาก
การติดต่อกับแขกก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
แขกมาถามว่าที่โรงแรมมีอาหารเจขายหรือไม่ ตอนแรกท่านอาจจะคิดว่า "
มาถามคำถามที่ไม่เห็นเกี่ยวกับงานแม่บ้านซักหน่อย"
แต่ในฐานะพนักงานคนหนึ่งท่านควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆที่โรงแรมจัดไว้ให้แขกมากพอที่จะตอบคำถามพื้น ๆ ของแขกได้
ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่แขกด้วย
ถ้าท่านสามารถตอบคำถามของแขกได้
และตอบอย่างชัดเจนละด้วยความเต็มอกเต็มใจก็จะมีส่วนช่วยให้แขกเกิดความรู้สึกที่ดีและอยากกลับมาพักหรือใช้บริการที่โรงแรมอีก
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อโรงแรมและต่อพนักงานทุกคนที่ทำงานในโรงแรมนั้นด้วยตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้านโดยทั่วไปจะมีดังนี้
1.1
หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper) รับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมดโดยขึ้นกับผู้จัดการใหญ่
(General
Manager) ของ โรงแรม แต่ก็มีบางโรงแรม
เหมือนกันที่หัวหน้าแผนกแม่บ้านไปขึ้นกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House
Manager) งานหลัก ๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้านได้แก่
การตรวจสอบงานส่วนต่าง ๆ ของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่
ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตารางเวลาการทำงานของพนักงานและการฝึกอบรม
นอกจากนี้ยังต้องรับผิดชอบกุญแจต่างๆ ที่จ่ายให้พนักงานไป ในบางโรงแรม
หัวหน้าแผนกแม่บ้านอาจจะดูแลควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง
แต่บางโรงแรมก็มอบหมายความรับผิดชอบนี้ให้หัวหน้าแม่บ้านอาวุโสคนใดคนหนึ่ง
ในการทำงานหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าเกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย
( ให้เช่า) ได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้มาช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหาย ทั้งที่อยู่ภายในห้องพักเองและบริเวณอื่นในโรงแรม
1.2 หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) หัวหน้าแม่บ้านดูแลตรวจตราการทำงานของผู้ช่วยแม่บ้านหรือแม่บ้านประจำฟลอร์(ชั้นของอาคาร)
3 คนขึ้นไป ในกรณีที่เป็นโรงแรมขนาดเล็ก
หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด ในเมืองไทยนิยมเรียกเป็น Senior Floor
Supervisor
1.3 แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor
Housekeeper หรือ Assistant
Housekeeper ) ดูแลตรวจตราการทำงานของพนักงานทำความสะอาดหรือพนักงานดูแลห้องพัก
(Cleaning
Staff/Room Attendants) เฉพาะที่ทำงานอยู่ที่ฟลอร์ใดฟลอร์หนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโรงแรม
ซึ่งรวมถึงห้องพักแขกทั้งแบบห้องมาตรฐานและห้องชุด ห้องพักพนักงาน ทางเดิน บันได
ห้องน้ำใช้ร่วมในบริเวณโรงแรม ห้องนั่งเล่น เป็นต้น ผู้ช่วยแม่บ้านคนที่อาวุโสที่สุดจะทำการแทนหัวหน้าแม่บ้านหรือหัวหน้าแผนกแม่บ้านเมื่อมีเหตุจำเป็น
ตำแหน่งนี้โรงแรมต่าง ๆในเมืองไทยนิยมเรียกกันว่า Floor Supervisor หรือหัวหน้าประจำฟลอร์
1.4 หัวหน้าห้องผ้า (Linen Room Supervisor) ต้องรับผิดชอบผ้าทุกชนิดที่ใช้ในห้องพักแขก
(เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เป็นต้น )ผ้าของห้องอาหารและแผนกจัดเลี้ยง
(ได้แก่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองถาด) และเครื่องแบบพนักงาน
โดยการจ่ายผ้าที่ซักสะอาดแล้ว เก็บรวบรวมผ้าที่ใช้แล้ว
ปะชุนผ้าที่ขาดและดูแลควบคุมการส่งผ้าไปซักที่แผนที่แผนกซักรีดและการรับคืนผ้าที่ซักแล้ว
3. วิเคราะห์SWOT
ของธุรกิจ
จุดแข็ง
1.มีสไตล์ที่แตกต่างจากโรงแรมทั่วไปในจังหวัดอุดรธานี
2.พนักงานบริการเป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใส
3.อาหารอร่อยราคาเป็นกันเองไม่แพงจนเกินราคาเป็นมิตร
4.ห้องพักสะอาดมีแม่บ้านทำความสะอาดจนถึง17.00น.
5.มีบริการรับส่งสนามบิน
6.มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในห้องพักมีระบบน้ำอุ่นและมินิบาร์
7.ภายในโรงแรมมีลิฟไว้คอยบริการในกรณีที่ที่พักอยู่ชั้นสูง
8.มีบริการซักรีด
จุดอ่อน
1.ห้องอาหารมีขนาดเล็ก
2.ห้องน้ำด้านล่างมีจำนวนน้อย
3.ที่จอดรถน้อยและไม่มีที่กันแดดกันฝน
โอกาส
1.ที่ตั้งของโรงแรมอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมืองหาเจอง่าย
2.ที่พักเงียบสงบเหมาะสำหรับแขกที่ต้องการมาพักผ่อนแบบส่วนตัว
3.อยู่ใกล้สถานที่สำคัญต่างๆของจังหวัด
อาทิเช่น หนองประจักษ์,ตลาดบ้านห้วย,เซเว่น,ปั้มน้ำมัน,
4.มีการเปิดให้จองห้องพักผ่านแอพพลิเคชั่นอาทิเช่น
ทาเวลโลกา,อโกด้า,เอ็กพีเดีย,
อุปสรรค
1.ที่ตั้งไม่ได้อยู่กลางเมือง
2.ที่ตั้งของโรงแรมต้องเข้าซอยมาประมาณ100เมตร
3.เศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ดีอาจทำให้จำนวนผู้เข้าพักลดลง
4.ช่วงที่มีการไว้อาลัยก็ไม่มีการจัดงานประชุมทำให้โรงแรมขาดรายรับ
4.กลยุธ์และทางเลือก
1. กลยุทธ์
การส่งเสริมการตลาด(Promotion
Strategy )
กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้อง
ประสานกับแผนการตลาดโดยรวมและควรกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างกลยุทธ์
: ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า
เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
: ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า
ของเราในช่วงที่ยอดขายตกต่ำของปี
2.กลยุทธ์
การใช้พนักงานขาย (Personal Strategy)
การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติ
ตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า
ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย
การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย
ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ
ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก
ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน
การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็
เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย
นอกจากนี้การขายโดยใช้ พนักงานขายนั้น
ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน
ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่ม
เติม
5.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาใช้บริการอีก
2.เพื่อสร้างให้เกิดการพูดปากต่อปากของลูกค้าในทางที่ดี
3.เพื่อรักษายอดการเข้าพักในแต่ละเดือนให้ไม่ต่ำจนเกินไป
4.เพื่อให้หน่วยงานสามารถเดินต่อไปได้
6.นโยบาย
ที่พักสะอาดอาหารอร่อย “ต้องปั้นหยา”
7.แผนกลยุทธ์
1.การลงทุน
(การลงทุนในการสร้างโรงแรม ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ
การลงทุนประกอบด้วยการลงทุนในสิ่งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้)
– 2.การบริหารและการจัดการธุรกิจ
(การบริหารและการจัดการที่ทำให้ธุรกิจอยู่ได้มีกำไรและมีความเจริญรุ่งเรื่องมากขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน)
– 3.การบริหารและการจัดการคน
( เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจภาคบริการ
คนเปรียบเหมือนกับเป็นวัตถุดิบของสินค้าถ้าการบริหารคนล้มเหลว สินค้าก็ไม่มีคุณค่า
หรือมีคุณค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ลูกค้าก็จะไม่มาใช้บริการ ธุรกิจก็อยู่ไม่ได้)
ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจบริการประกอบด้วย
-ให้บริการเช่าห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยว
และผู้เดินทาง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
-ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ใช้บริการห้องพักและคนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้บริการห้องพัก
-ให้บริการอื่นๆที่เป็นการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพัก
และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรม
ส่วนประกอบของสินค้าหลักในการทำธุรกิจโรงแรมได้แก่
-วัตถุดิบสิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่สถานที่ สิ่งก่อสร้าง
อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการบริการลูกค้า ระบบภายนอกต่างๆ เช่นระบบการส่งน้ำ
ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า เป็นต้น (
ส่วนที่เป็นวัตถุภายนอก)
-การบริหารจัดการธุรกิจ ได้แก่การจัดการเรื่องทรัพย์สิน
และระบบการบริหารธุรกิจ ได้แก่ การก่อสร้าง การดูแลบำรุงรักษา
การบริหารการจัดการเรื่องการเงิน การบริหารจัดการเรื่องการขาย
การบริหารจัดการเรื่องการจัดซื้อเป็นต้น
-การบริหารจัดการคน คือการบริหารจัดการเรื่องคน เริ่ม
ตั้งแต่การว่าจ้าง การบริหารจัดการให้คนทำงาน การมอบหมายคนให้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถ
การพัฒนาและสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนุกและรักในงาน
มีทัศนคติที่ดี และมีจรรยาบรรณ
-แผนการทำธุรกิจ หรือ
แผนการตลาดที่ดีจะต้องคำนึงถึงการลงทุนที่เหมาะสม
คือลงทุนแล้วมีผู้มาใช้บริการและมีรายได้จากผู้ใช้บริการคุ้มกับการลงทุน (
วางกลุ่มเป้าหมายลูกค้าได้ถูกต้อง) ( Property
Position + Customer Target)
-การลงทุนประกอบด้วย
ทรัพย์สิน+ต้นทุนการบริหารจัดการด้านธุรกิจ+ต้นทุนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์
(ก่อนเปิดดำเนินการทางธุรกิจ)
-มีการแยกแยะอย่างชัดเจน ระหว่างการลงทุนหลังการเปิดดำเนินธุรกิจ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
ต้องมีการเผื่อเหตุการณ์ภายนอกที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
-เป็นแผนที่รอบครอบ มีข้อมูล และความชัดเจน
อิงสิ่งที่เป็นจริง อย่าเขียนตามความพอใจที่อยากจะให้เป็น
แผนธุรกิจ หรือแผนการตลาดเป็นการวางแผนก่อนที่จะลงทุนทำธุรกิจ
-เมื่อทำธุรกิจแล้วจะต้องมาทบทวนว่าแผนที่วางไว้ส่วนไหนถูกต้อง
ส่วนไหนควรแก้ไข ปรับปรุง สินค้าได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ไหม
ถ้าต่ำกว่ามาตรฐานต้องมาดูว่าส่วนไหน บกพร่อง
เช่นห้องพักเก่าและมีปัญหาถูกลูกค้าต่อว่า ก็ต้องมาดูว่า โครงสร้างหมดสภาพหรือยัง
หรืออยู่ที่การบริหารจัดการ และต้องแก้ให้ถูกต้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ห้องพักราคาสุดประหยัด
โรงแรมปั้นหยาเป็นอีกหนึ่งที่พักที่มีราคาคุ้มค่ากับที่พักเป็นอย่างมากหากคุณๆที่มาเที่ยวจังหวัดอุดรธานีหรือมาทำธุระ โรงแรมแห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่...
-
1. ภารกิจของหน่วยงาน 1.1 การเปิดให้บริการห้องพักรายวันรายเดือน 1.2 การเปิดให้บริการห้องประชุมสัมมนาต่างๆ 1.3 ออกพื้นที่ทำการประชาสัมพ...
-
โรงแรมปั้นหยากับสัมผัสใหม่ที่ทุกคนห้ามพลาดกับบรรยกาศที่เงียบสงบและเป็นกันเอง อาหารอร่อยห้องสะอาด สามารถติดต่อห้องพักได้ที่ 042-...